Wikimedians in Thailand/Reports/WMCON18
รายงานการประชุมวิกิมีเดีย พ.ศ. 2561 หรือ WMCON18
เมื่อวันที่ 20–22 เมษายน พ.ศ. 2561 กลุ่มอาสาสมัครวิกิมีเดียในประเทศไทยได้ส่งตัวแทนจำนวน 2 คนเข้าร่วมการประชุมวิกิมีเดียประจำปี ซึ่งจัดขึ้น ณ กรุงเบอร์ลิน ประเทศเยอรมนี โดยมีจุดประสงค์หลักในการขอคำแนะนำเกี่ยวกับการจัดตั้ง Wikimedia chapter ในประเทศไทย และเรียนรู้ทักษะและกลยุทธ์ ทั้งจากการประชุมและจากการพบปะกับตัวแทนจากกลุ่มอื่น ๆ จากทั่วโลก
การประชุมกับ Affiliations Committee และการจัดตั้ง Wikimedia chapter
editความคิดที่จะก่อตั้ง Wikimedia chapter ในประเทศไทยมีมาตั้งแต่ พ.ศ. 2554 และเริ่มเป็นรูปเป็นร่างเมื่อ พ.ศ. 2560–61 ก่อนเริ่มการประชุมวิกิมีเดีย เราได้ขอเข้าประชุมกับ Affiliations Committee ซึ่งเป็นคณะกรรมการจากมูลนิธิวิกิมีเดียที่รับผิดชอบเกี่ยวกับการจัดตั้งตัวแทนในเครือของมูลนิธิวิกิมีเดีย เพื่อขอคำแนะนำ
ประโยชน์
editประโยชน์ของการจัดตั้ง chapter ในประเทศไทยได้แก่:
- การเพิ่มความน่าเชื่อถือภายในประเทศ
- ทำให้องค์กรเป็นที่รู้จักมากขึ้น
- เพิ่มความสะดวกในการร่วมมือกับองค์กรภายนอก
โดยทุกข้อที่กล่าวมาล้วนเชื่อมโยงกัน
ข้อกำหนดจากทางมูลนิธิวิกิมีเดีย
editอ่านเกี่ยวกับการจัดตั้ง chapter ได้ที่ Wikimedia chapters/Creation guide
- จัดกิจกรรมต่อเนื่องเป็นระยะเวลาอย่างน้อยสองปี
- การรวมตัวกันของสมาชิกอย่างน้อย 20-25 คน
- เขียนข้อบังคับสมาคม (Bylaws)
- การจดทะเบียนเป็นนิติบุคคล (สมาคม)
ไทม์ไลน์
edit- อภิปรายกันภายในชุมชน (อภิปรายครั้งแรกปี พ.ศ. 2554 ) Done
- จัดกิจกรรมต่อเนื่องเป็นระยะเวลาอย่างน้อยสองปี Done
- การรวมตัวกันของสมาชิกอย่างน้อย 20-25 คน Done (การจัดตั้งสมาคมต้องการสมาชิกไม่น้อยกว่า 10 คน)
- อภิปรายกับ Affiliations Committee คณะกรรมการจากมูลนิธิวิดิมีเดีย (19 เมษายน 2561) Done
- ร่างข้อบังคับสมาคม Done
- จดทะเบียนเป็นสมาคม (อยู่ระหว่างการดำเนินการ)
โครงการสนับสนุนอาสาสมัคร (Volunteer support)
editการเกิดช่องว่างระหว่างกลุ่มอาสาสมัครและชุมชนวิกิพีเดียเป็นปัญหาที่พบได้บ่อยในการเคลื่อนไหวในเครือวิกิมีเดีย โครงการสนับสนุนอาสาสมัครอาจเป็นช่องทางที่ช่วยลดช่องว่างระหว่างชุมชนวิกิพีเดียและกลุ่มอาสาสมัครวิกิมีเดีย และทำหน้าที่เป็นช่องทางให้อาสาสมัครแสดงความคิดเห็นและความต้องการ
วัตถุประสงค์
edit- เพื่อสนับสนุนอาสาสมัครในทุก ๆ ด้าน
- เพื่อส่งเสริมการมีส่วนร่วมของชุมชนวิกิมีเดีย
- เพื่อลดช่องว่างระหว่างชุมชนวิกิพีเดียและกลุ่มอาสาสมัครวิกิมีเดีย
- เพื่อส่งเสริมให้เกิดความสำนึกความเป็นเจ้าของ (sense of belonging) เสมือนหนึ่งบ้านหลังที่สอง
- เพื่อเสริมสร้างความแข็งแกร่งของชุมชนวิกิพีเดียและกลุ่มอาสาสมัครในระยะยาว
- เพื่อเพิ่มความตระหนักและความเข้าใจในการเคลื่อนไหวในเครือวิกิมีเดียของทุกคนในชุมชน
- เพื่อเพิ่มความรับผิดชอบและความโปร่งใสในการบริหารงานของกลุ่มอาสาสมัครและ Wikimedia chapter ในอนาคต
การแจ้งเตือนไปยังชุมชนวิกิพีเดีย
edit- เอกสารการขอทุน รายงานทุน และเอกสารต่าง ๆ ที่เกี่ยวกับงานบริหารกลุ่มอาสาสมัคร/Wikimedia chapter
- กิจกรรมต่าง ๆ ที่จัดขึ้นโดยกลุ่มอาสาสมัคร
- งานพบปะ ซึ่งจะมีประกาศล่วงหน้าและจะไม่จำกัดเพียงแค่คนกลุ่มใดกลุ่มหนึ่ง
- กิจกรรมและงานต่าง ๆ ซึ่งจัดโดยมูลนิธิวิกิมีเดีย/กลุ่มอาสาสมัคร/Wikimedia chapter อื่น ๆ แต่ละกิจกรรมจะมีคำอธิบายเป็นภาษาไทยเพื่อลดอุปสรรคทางภาษาและเพื่อเป็นการเสริมสร้างบทบาทของกลุ่มอาสาสมัคร/Wikimedia chapter ในชุมชนระดับนานาชาติ
- โครงการต่าง ๆ และสาระสำคัญของการเคลื่อนไหวในเครือวิกิมีเดีย ยกตัวอย่างเช่น Service and Equity (strategic direction), Wikimedia 2030, Wikimedia values และอื่น ๆ
ช่องทางในการแจ้งเตือน
edit- Mailing list
- Community portal
- ศาลาประชาคม/สภากาแฟ
- Facebook group/page
สิ่งที่ได้เรียนรู้จากการเข้าร่วมงาน WMCON2018
edit- กลุ่มอาสาสมัครของเรามีความพร้อมในการจัดตั้ง Chapter เกือบสมบูรณ์ ขาดแต่เพียงการรวบรวมอาสาสมัครเพื่อจัดตั้งสมาคมหรือมูลนิธิตามกฎหมาย
- ตระหนักถึงประโยชน์ของ Community Capacity Map
- ตระหนักว่าปัญหาหลาย ๆ อย่างไม่ได้เกิดเฉพาะในวิกิพีเดียภาษาไทย แต่ภาษาอื่น ๆ ก็มีปัญหาลักษณะคล้ายกัน ตัวอย่างเช่น เรื่องการรักษาอาสาสมัครไว้, การหาอาสาสมัครใหม่ และหลายชุมชนแม้จะมี ศักยภาพของทักษะต่าง ๆ สูง แต่อาจมี robustness ต่ำ กล่าวคือ ถ้าคนจำนวนไม่กี่คนเกิดไม่สามารถทำสิ่งเหล่านี้ต่อไปได้ ศักยภาพก็จะกลายเป็นศูนย์ทันที และขนาด Wikimedia chapter ใหญ่ ๆ อย่างวิกิมีเดียประเทศเยอรมันยังมีอัตราการมีส่วนร่วมที่ต่ำจนต้องพยายามเพิ่มด้วยการแสดงแบนเนอร์ให้ข้อมูลว่าทุกคนสามารถแก้ไขวิกิพีเดียได้
- มูลนิธิวิกิมีเดียมีทีมที่รับผิดชอบเกี่ยวกับเทคโนโลยี (Community Tech) ซึ่งมีเป้าหมายที่จะตอบสนองความต้องการของอาสาสมัครวิกิมีเดีย
- ตระหนักถึงความสำคัญของการสนับสนุนอาสาสมัคร (volunteer support) และมองเห็นว่าอาจเป็นคำตอบที่ช่วยลดช่องว่างระหว่างชุมชนวิกิพีเดียและกลุ่มอาสาสมัครวิกิมีเดีย, ช่วยพัฒนาทักษะของอาสาสมัคร, และทำหน้าที่เป็นช่องทางให้อาสาสมัครแสดงถึงความต้องการ
สิ่งที่จะนำกลับมาพัฒนา (Action points)
edit- เพิ่มเนื้อหาเกี่ยวกับมูลนิธิวิกิมีเดียในภาษาไทย เพื่อเพิ่มความเข้าใจเกี่ยวกับขบวนการวิกิมีเดียและจุดประสงค์ของมูลนิธิวิกิมีเดีย
- ประเมินจุดยืนของ WMTH โดยใช้เกณฑ์ของ Community Capacity Map โดยให้ชุมชนวิกิพีเดียภาษาไทยมีส่วนร่วมในการประเมิน อาจเริ่มด้วยการแบ่งเป็นส่วนย่อยและแปลเป็นภาษาไทย พร้อมขอความเห็นจากชุมชน อาจตั้งเป้าหมายในแต่ละปีหรือแบ่งเป็นช่วงไตรมาส
- เพิ่มความตระหนักว่าทุกคนสามารถแก้ไขวิกิพีเดียได้
- เพิ่มความตระหนักว่านอกจากจะเขียนหรือมีส่วนร่วมในวิกิพีเดียแล้ว ยังสามารถให้ความช่วยเหลือด้านอื่น ตามทักษะที่ถนัดหรือที่ทำได้
- พยายามหาพันธมิตรที่มีผู้ให้ความสนใจจำนวนหนึ่งอยู่แล้ว และพยายามจัดกิจกรรมร่วมกัน เช่น การติดต่อขอร่วมมือกับห้องสมุดเพื่อจัดทำ workshop สอนการใช้วิกิพีเดียและให้ข้อมูลเกี่ยวกับ Wikimedia movement จากในการประชุม User:ÀlexHinojo ได้ให้คำแนะนำว่าควรทำให้บรรณารักษ์รู้สึกว่าวิกิพีเดียเป็นเครื่องมือหนึ่งที่ทำให้งานสำเร็จ โดยการเพิ่มชั้นหรือ add layer ที่พวกเขาสามารถใช้วิกิพีเดียได้เข้าไป เช่น ในการเขียนรายงานกิจกรรมสามารถทำได้บนเมทา ทั้งนี้จะต้องพยายามติดตามพวกเขาเรื่อย ๆ เพื่อคอยกระตุ้น
- คิดเกี่ยวกับการจัดตั้งแคมป์วิกิพีเดียจากที่ได้ฟังจากวิกิมีเดียประเทศเซอร์เบีย โดยสามารถของบเพื่อจัดแคมป์ 2–3 วัน เริ่มจากการเปิดรับสมัครและคัดเลือกผู้ที่สนใจ และอาจพาไปที่ซึ่งห่างไกล (แต่มีอินเทอร์เน็ต) ตัวอย่างกิจกรรม เช่น เริ่มจากการแนะนำเกี่ยวกับวิกิพีเดีย/วิกิมีเดีย การแก้ไขเบื้องต้น จากนั้นเดินทัวร์เพื่อถ่ายรูป นำมาลงคอมมอนส์ และเขียนบทความหรือปรับปรุงบทความและนำรูปไปใช้ตามเหมาะสม
- ลองใช้เครื่องมือใหม่ ๆ ที่ได้เรียนรู้จากการประชุม เพิ่มความตระหนักถึง Community Tech ที่สามารถช่วยทำหรือแนะนำเครื่องมือช่วยเหลือได้, Grant metrics tool ที่ใช้ง่ายและสามารถช่วยผู้จัดงานในการติดตามผลของกิจกรรม, Toolhub ที่กำลังได้รับการพัฒนาเป็นศูนย์รวมเครื่องมือต่าง ๆ ทำให้หาเครื่องมือที่ต้องการได้สะดวกขึ้น (แต่ตอนนี้มี Hay's tool directory ที่รวบรวมเครื่องมือส่วนใหญ่ไว้)
- เพิ่มความตระหนักถึง Volunteer Supporters Network และทำให้ชุมชนตระหนักว่าสามารถขอความช่วยเหลือกับ WMTH ได้ (อ่านเพิ่มเติมได้ที่ Volunteer Supporters Network/Resources)
- พยายามสนับสนุนชุมชนในหลาย ๆ ด้าน อย่างแรกอาจต้องดูว่าอาสาสมัครต้องการความช่วยเหลือไหม ต้องการด้านไหน อาสาสมัครพอใจกับบรรยากาศในชุมชนไหม
- พยายามสนับสนุนผู้ใช้ใหม่ให้มากขึ้น อาจทำบอตที่สื่อสารในหน้าพูดคุยของผู้ใช้ใหม่หลังแก้ไขครบ 5 ครั้ง โดยไม่ถูกย้อน หรือสร้างบทความใหม่ครั้งแรกโดยไม่ถูกลบภายในช่วงเวลาหนึ่ง
- คิดว่าทำอย่างไรให้อาสาสมัครรู้สึกว่างานของพวกเขาน่าชื่นชมและมีคุณค่า
- แสดงแบนเนอร์บนหน้าหลักเกี่ยวกับโครงการเมนเทอร์พร้อมบอกว่าทุกคนสามารถมีส่วนร่วมบนวิกิพีเดียได้
- ขอความเห็นเกี่ยวกับการจัดการพบปะ เช่น สถานที่ซึ่งเหมาะสม จุดประสงค์ของการพบปะแต่ละครั้ง ช่วงเวลาในการจัด (วันไหนของสัปดาห์, ช่วงไหนของเดือน) ความถี่ของการพบปะ (ควรจะจัดเป็นประจำเพื่อให้คนคุ้นเคย)
- สร้างหน้ารวบรวมงานของ WMTH ในรูปแบบของ to-do list เพื่อเปิดโอกาสให้คนสามารถช่วยได้
ทั้งหมดนี้เป็นเพียงแบบร่างของแผนการและแนวทางในอนาคตเท่านั้น หากมีคำแนะนำหรือข้อเสนอเนอะเกี่ยวกับสิ่งต่าง ๆ แน่นอนว่าสามารถเสนอเข้ามาได้ในหน้าพูดคุยทั้งในนี้และในหน้าพูดคุยส่วนตัวของพวกเรา
--Athikhun.suw (talk) 08:53, 22 April 2018 (UTC)
--Pilarbini (talk) 09:08, 24 April 2018 (UTC)