Talk:Wikimedia Thailand/Registration

เชื่อมโยงจาก

ซึ่งจะแสดงผลใน th:พิเศษ:ปรับปรุงล่าสุด และ th:วิกิพีเดีย:ศาลาประชาคม (และหน้าอย่างเดียวกันในโครงการพี่น้อง)

ยังไม่ได้มีวิธีการแจ้งชุมชนที่อาจเกี่ยวข้องใน commons.wikimedia.org species.wikimedia.org Wikiversity Wikivoyage Wikinews และ Wikidata นะครับ หากตกหล่นท่านใดไปขออภัยด้วย และหากท่านคิดว่ามีผู้ควรได้รับข่าวสารนี้ก็กรุณาแจ้งข่าวกันต่อไปอีกทางหนึ่ง

อภิปรายเบื้องต้นเพื่อกำหนดทิศทาง

edit

กลับมาทบทวนประเด็นการจดทะเบียนนิติบุคคลอีกครั้งนะครับ ตรงนี้ใช้ภาษาไทยเพราะเป็นภาษาทางการของวิกิมีเดียประเทศไทยเพื่อให้สมาชิกในชุมชนรับรู้ร่วมกัน สังคมกำลังจะก้าวพ้นโควิด-19 และกลับมาจัดกิจกรรมทางกายภาพอีกครั้ง วิกิมีเดียประเทศไทยเป็นส่วนของโลกกายภาพที่อยู่คู่กับสังคมออนไลน์ในชุมชนวิกิพีเดียจึงถึงเวลาที่จะกลับมามีบทบาทอีกครั้งและขยายขอบเขตจากเดิมตามแผนในอดีต (แผนในอดีตเคยต้องชะลอไปเพราะน้ำท่วม 2011 และโควิด 2019)

  1. การจดทะเบียนสมาคมต้องใช้จำนวนผู้ลงชื่อจำนวนมากและปัจจุบันยังไม่สามารถหาชื่อได้ครบ
  2. ปัจจุบันได้รับทุนสนับสนุนจากมูลนิธิวิกิมีเดียมาหลายครั้ง และครั้งล่าสุดมีจำนวนเพียงพอแก่การจดทะเบียนเป็นมูลนิธิและตั้งสำนักงานเพื่อจัดกิจกรรมได้
    • Wikimedia Thailand/bylaws คือ ข้อบังคับที่เคยร่างไว้เป็นของสมาคม คงจะต้องเปลี่ยนแปลงให้เป็นข้อบังคับของมูลนิธิโดยอนุโลม โดยไม่ให้เสียเวลานานเกินไปแต่ก็ให้เวลาที่เหมาะสมให้สมาชิกในชุมชนได้เสนอแนะ/อภิปรายปรับปรุงก่อนนำไปจดทะเบียน หลังจดทะเบียนแล้วจะปรับปรุงอีกก็ได้
    • การจดมูลนิธิมีข้อดีเกี่ยวกับความโปร่งใสและธรรมภิบาลในการดำเนินการ และเป็นหนึ่งในข้อกำหนดของ WMF ที่ Chapter จะต้องมีสถานะเป็นนิติบุคคล อย่างไรก็ดี การจดทะเบียนเป็นนิติบุคคลมีต้นทุน ทั้งสถานที่และการสอบบัญชี รวมถึงการมีลูกจ้างกึ่งประจำ ส่วนนี้ก็ใช้เงินที่ WMF ให้มาเป็นทุนดำเนินการจ่ายไปก่อน แต่ในระยะยาวหากไม่มีผู้สนับสนุนต่อเนื่องก็จะต้องเผื่อค่าใช้จ่ายส่วนนี้ไว้ก่อนปิดการดำเนินการลง
    • สำหรับสถานที่ทีมผู้จัดมองไว้สองแห่ง จะได้ดำเนินการสำรวจความเป็นไปได้และราคาเพื่อตัดสินใจเปรียบเทียบต่อไปโดยเร็วคู่ขนานไปกับการจัดการจดทะเบียน
    • สำหรับลูกจ้างกึ่งประจำคงมีได้ 1 อัตราด้วยคุณวุฒิปริญญาตรี อาจใช้ช่องทางการจ้างเหมาบริการผ่านตัวแทน (เช่นเดียวกับที่ WMF จ้างคนผ่านบริษัท safeguard และ elements) หรือปรึกษากับสำนักงานบัญชีที่ดำเนินการให้อีกครั้ง กึ่งประจำหมายความว่าสัญญาจ้างคงมีประมาณ 1 ปีและอนาคตในการต่อสัญญายังไม่ค่อยแน่นอนนัก โดยหน้าที่ของตำแหน่งดังกล่าวระบุไว้ในเอกสารขอทุนแล้ว หากดำเนินการไปได้ดีอาจรับนักศึกษาฝึกงานเพิ่มเติมเพื่อช่วยงานในแต่ละกิจกรรม/โครงการอีกก็ได้ (อาจมีหรือไม่มีค่าตอบแทน)
  3. ผมคิดว่าควรจดทั้งสมาคมและมูลนิธิเมื่อมีทรัพยากรเพียงพอ สมาคมคือศูนย์รวมของทรัพยากรบุคคล ส่วนมูลนิธิคือศูนย์รวมของกำลังทรัพย์สิน จะขาดสิ่งหนึ่งสิ่งใดคงไม่ได้ เพียงแต่ว่าตอนนี้พร้อมที่จะจดในรูปแบบมูลนิธิไปก่อนก็เป็นไปตามนั้น ส่วนเมื่อสมาคมพร้อมแล้วก็อาจส่งตัวแทนกรรมการจากสมาคมมาเป็นกรรมการของมูลนิธิ เพื่อให้เงินอยู่ในการควบคุมของชุมชนและคนที่ทำกิจกรรมอย่างแท้จริงต่อไปครับ
  4. แผนการดำเนินการรายปีจะต้องแจ้งให้ชุมชนทราบล่วงหน้า ไม่ฉุกละหุกในการเตรียมการแต่ละกิจกรรมจนเกินไป (ฝากช่วยกันเติมด้านล่างนี้เลยนะครับ)
    • มีนาคมของทุกปี WikiGap => Wikimedia Thailand/WikiGap 2022 (en:International Women Day)
    • เมษายนของทุกปี WikiForHumanRights => TBA (en:Earth Day)
    • พฤษภาคมของทุกปี en:Wiki Loves Earth (WLE) => TBA (ไม่มีวันสำคัญเกี่ยวข้อง เป็นกิจกรรมที่ริเริ่มในยูเครน อาจจะต้องมีการเลื่อนเวลาการประกวดออกไป)
    • กันยายนของทุกปี en:Wiki Loves Monument (WLM) => TBA (ไม่มีวันสำคัญเกี่ยวข้อง)
    • พฤศจิกายนทุกสองปี (ปี ค.ศ. เลขคี่ ได้แก่ ค.ศ. 2023 เป็นครั้งถัดไปที่จะจัด) https://www.wikisciencecompetition.org (WSC) => TBA (ไม่มีวันสำคัญเกี่ยวข้อง)

--Taweethaも (talk) 01:38, 18 March 2022 (UTC)Reply


  Comment

  1. ในส่วนของความเคลื่อนไหวเบื้องหลังอาจยังขาดแคลนผู้ใช้ส่วนนี้ไปพอสมควร แต่ถ้ามีอะไรให้ช่วยเหลือก็ติดต่อมาได้ครับ ว่าง ๆ จะทยอยทำให้
  2. ผมนึกดูว่าน่าจะจัดกิจกรรมร่วมกับคุณ Horus สักปีละครั้ง แต่ยังไม่รู้ว่าเป็นรายการอะไรดี อ.ทวีธรรม หรือคุณ Horus มีแนวคิดอย่างไรบ้างครับ
  3. ในการจัดตั้ง หากเป็นไปได้ อยากให้คัดด้วยว่าผู้ร่วมจัดตั้งไม่มีประวัติการทุจริตที่ก่อให้เกิดความเสียหายต่อชุมชนหรือสมาคม ขอบคุณครับ --B20180 (talk) 04:15, 18 March 2022 (UTC)Reply

เมื่อมีมูลนิธิและสมาคมก็จะจัดงานตรงนี้ได้มากขึ้น ปีหนึ่งมีโอกาสร่วมกิจกรรมการได้หลายครั้งทั้งออนไลน์และในพื้นที่จริงตามความสะดวกได้เลย ส่วนการคัดเลือกบุคคลเป็นกรรมการนั้นเข้าใจว่าสามารถเปิดเผยระบุชื่อเป็นสาธารณะได้ครับ ประเด็นคือเราคงไม่ต้องการให้ผู้ใช้ที่ก่อนกวนหรือถูกบล็อกเข้ามาเป็นกรรมการตรงนี้ ในทางปฏิบัติอาจตรวจสอบได้อยาก คงใช้หลัก w:th:WP:AGF และเลือกผู้ที่มีประวัติการใช้งานที่ดีในชุมชนหรือเป็นผู้ที่มีประสบการณ์/ชื่อเสียงในสาขาที่เกี่ยวของกับวิกิมีเดีย (เช่น การศึกษา/การบริหารองค์กรอาสาสมัคร การสื่อสาร/สื่อมวลชน อินเตอร์เน็ต/คอมพิวเตอร์) และยินดีทำงานแบบเปิดเผยชื่อ/ไม่มีค่าตอบแทนเข้ามาเป็นกรรมการครับ กระบวนการตรงนี้ผมจะพยายามช่วยสื่อสารกลับมาในชุมชนออนไลน์ให้ทั้งโปร่งใสและรวดเร็วพอที่จะดำเนินการทุกอย่างต่อไปได้ตามกำหนดนะครับ ผมเข้าใจว่าการจดทะเบียนมูลนิธิเบื้องต้นใช้ชื่อกรรมการสามคน จึงยังไม่เป็นประเด็นครับ สมาคมเป็นสิ่งที่หากรรมการได้ยากกว่าและยังยืดเยื้อไม่สำเร็จสักที --Taweethaも (talk) 05:01, 18 March 2022 (UTC)Reply

  Comment

  1. โดยส่วนตัวเห็นว่าเรื่องการหาคนมาร่วมจัดตั้งนิติบุคคลคงเป็นไปได้ยากในปัจจุบัน เนื่องจากวิกิพีเดียภาษาไทยมีภาพลักษณ์ที่ไม่ดีและในช่วงไม่กี่ปีที่ผ่านมามีความพยายามในการคุกคามและขู่ดำเนินคดีอาสาสมัครบ่อยครั้ง ส่วนนี้ยิ่งทำให้อาสาสมัครไม่กล้าเปิดเผยตัวตนเพื่อป้องกันความเสี่ยงที่จะเกิดขึ้น แม้กรณีส่วนใหญ่จะถือได้ว่าไม่สามารถปฏิบัติได้ตามกฎหมายหรือคุ้มค่าต่อการดำเนินคดีแต่คงไม่มีใครอยากเสียเวลาและสุขภาพจิตกับเรื่องงานอาสาสมัคร แน่นอนว่าจะมีผลต่อหากตั้งเป็นนิติบุคคลแล้ว อาสาสมัครที่เป็นสมาชิกนิติบุคคลย่อมมีความเสี่ยงต่อการคุกคามมากกว่าอาสาสมัครทั่วไป เชื่อว่าคงต้องใช้ระยะเวลาในการปรับแก้ภาพลักษณ์และจะดีขึ้นถ้าได้รับการสนับสนุนจากทั้งทาง chapter และชุมชนครับ
  2. WikiForHumanRights ที่จะถึงล่าสุด ถ้ามีแผนกิจกรรมอย่างคราว ๆ แล้ว ส่งให้อภิปรายในชุมชนได้ทันที เผื่อใครจะเสริมอะไรให้ได้ก่อนจัดจริงครับ
  3. เสริมจากความเห็นของคุณ B20180 เห็นเคยเสนอให้มี Wiki Loves Food เมื่อหลายปีก่อน ผมว่าเป็นเรื่องดีครับ และถ้ามีก็อยากให้มีกิจกรรมควบคู่อย่างบทความอาหารในวิกิพีเดียและตำราอาหารในวิกิตำราครับ

สุดท้าย ขอขอบคุณที่ทาง chapter แจ้งรายละเอียดเกี่ยวกับการจดทะเบียนและแผนการจัดกิจกรรมมาครับ --Geonuch (talk) 05:00, 19 March 2022 (UTC)Reply


@Geonuch:

  1. ขอบคุณที่ติดตามในประเด็นต่างๆ รวมถึง WikiForHumanRights นะครับ จะพยายามติดตามให้ครับ รวมถึง Wiki Loves Food
  2. @B20180: Wiki Loves Food ถือว่าเป็นนวัตกรรมใหม่ที่ประเทศไทยได้เปรียบและเป็นต้นแบบแก่ประเทศอื่นได้ดีเลย อาจจะต้องขอเดือนที่คิดว่าเหมาะสมออกมาด้วยครับ พ.ย.-ธ.ค. เป็นเทศกาลท่องเที่ยวและเราว่างเว้นยังไม่ต้องจัด WSC ก็น่าจะเป็นโอกาสได้ จะจัดเป็นภาพถ่าย+เขียนบทความ โดยที่ + หมายถึงส่งอย่างใดอย่างหนึ่งก็ได้หรือบังคับทำคู่ดีครับ ผมคิดว่าไม่บังคับทำคู่แต่ว่าผลงานส่งต้องมีทั้งบทความและรูปดีไหมครับ หมายความว่าเขาจะจับคู่กันทำสองคนหรือจะทำเองทั้งสองส่วนก็ได้ นอกจากวิกิตำราแล้ว เสริมว่าเอารูปไปใส่ในวิกิพจนานุกรมด้วยก็น่าจะได้
  3. ผมไม่คิดว่าจะมีแบ่งแยกเป็น chapter หรือโครงสร้างอื่นๆ ที่ชัดเจนนะครับ ทุกคนก็เป็นอาสาสมัครเหมือนกัน เพียงแต่ว่าเหมือนจะแบ่งเป็นกลุ่มๆ ที่สนิทกันหรือรู้จักกันบ้าง และอาจมีอาสาสมัครที่ทำงานแบบเดี่ยวๆ อีกจำนวนหนึ่ง และบางส่วนเป็นอาสาสมัครที่ยังไม่ค่อยได้แก้ไขในโครงการต่างๆ บ่อยนักแต่มาช่วยเหลืองานทางกายภาพในการจัดกิจกรรม หรือเน้นไปทางถ่ายภาพมากกว่าเขียน ฯลฯ ผมเข้าใจว่าเรามีตัวอย่างความแตกต่างที่มีเส้นแบ่งระหว่าง WMF กับ communities ที่ชัดเจน แต่สำหรับวิกิมีเดียประเทศไทยกับอาสาสมัครในชุมชนโครงการพี่น้องอาจะไม่ได้มีเส้นแบ่งแบบนั้นครับ
  4. มูลนิธิที่มีกรรมการสามคนคิดว่าหาอาสาสมัครรุ่นอาวุโสที่มีตัวตนในสังคมมารับหน้าที่ได้ครับ ส่วนสมาคมอาจจะค้างคากันต่อไป หรือแทรกกรรมการผู้ทรงคุณวุฒิภายนอกอย่างที่เสนอไว้ข้างต้นนะครับว่ามีผู้เชี่ยวชาญมาช่วยนั่งเป็นกรรมการได้ก็ดีไปอีกแบบ
  5. ประเด็นอาสาสมัครถูกคุกคามผมไม่ได้รับทราบข้อมูลเพิ่มเติมมาเลยในเวลาหลายปีที่ผ่านมา รวมถึงชื่อเสียง ผมไม่แน่ใจว่าเราวัดกันจากที่ใดเป็นสำคัญ ที่น่ากังวลคือมหาดไทยเขาจะยอมให้จดเป็นมูลนิธิหรือสมาคมหรือไม่ ถ้าไม่ยอมให้จดก็ต้องบอกสาเหตุตามหลักกฎหมายปกครอง (การอนุญาตหรือไม่อนุญาต ในเวลาอันสมควร...) ผมเข้าใจว่าควรมี contact person ที่รู้ความรวมทั้งหมดอยู่ที่ใดที่หนึ่งในประเด็นของการคุกคามอาสาสมัคร

--Taweethaも (talk) 07:44, 21 March 2022 (UTC)Reply


ในส่วนของ Wiki Loves Food น่าจะจัดเป็นในส่วนของเดือนธันวาคม เนื่องด้วยจะได้ไม่ซ้อนกับ Wikipedia Asian Month ที่จะจัดขึ้นในเดือนพฤศจิกายน และในส่วนของผู้ส่งผลงาน อาจไม่จำเป็นต้องทำในลักษณะของการจับคู่กันระหว่างผู้ใช้ เนื่องจากไม่ค่อยมีผู้ใช้วิกิพีเดียภาษาไทยทำงานในลักษณะนี้ แต่อาจเป็นว่าใครสะดวกส่งผลงานในส่วนของการถ่ายภาพ หรือบทความ หรือทั้งสองรายการควบคู่กันก็ได้ ตามแต่ถนัดครับ --B20180 (talk) 09:48, 21 March 2022 (UTC)Reply

แจ้งผลความคืบหน้านะครับ วันนี้คุยกับ JChen (WMF) (talk · contribs)

  1. @Geonuch: เรื่องการคุกคามอาสาสมัครผมสอบถามไปทาง WMF ถ้ามีความคืบหน้าจะกลับมาอัปเดตกันอีกทีหนึ่ง ส่วนเรื่องชื่อเสียงที่ว่าไม่ดีนั้น ถ้ามีความจำเพาะเพิ่มเติมระบุได้ว่าเป็นอย่างไร จะได้เข้าใจและวางแผนการแก้ไขต่อไปก็แจ้งข้อมูลมาเพิ่มเติมนะครับ
  2. @B20180: Wiki Loves Food หลังจากสอบถามผู้เกี่ยวข้อง ไม่ใช่เรื่องใหม่ แต่ยังเป็นเรื่องที่จำเพาะกับภูมิภาคของเรา มีกิจกรรมคล้ายกันนี้ในมาเลเซียและอินโดนีเซียมาก่อนแล้ว เพื่อเป็นเกียรติแก่ผู้ที่เคยจัดกิจกรรมมาก่อนและประหยัดทรัพยากรในการลองผิดลองถูกน่าจะศึกษาจากเขาและใช้ชื่องานของเขาไปเลยครับ มาเลเซียใช้ชื่อว่า Wiki Selera ส่วนอินโดนีเซียจะส่งข้อมูลตามมาด้านล่างนะครับ เดือนธันวาคมก็ดีไปอีกแบบครับมีเวลาได้หายใจในการจัดงานเพิ่มขึ้น
  3. @Geonuch, Karto1, and Athikhun.suw: WikiForHumanRights ไม่มีความคืบหน้าแต่มีตัวอย่างมาเพิ่มเติม เป็นของฟิลิปปินส์

--Taweethaも (talk) 09:04, 22 March 2022 (UTC)Reply

 
Wikipedia Education Program

@Geonuch, Karto1, and Athikhun.suw: ขออภัยลืมไปอีกประเด็น อันนี้คุยไว้สักพักแล้วนะครับ แต่เมื่อกลับมาพูดถึงก็เลยนึกขึ้นได้ สิ่งเหล่านี้ตามภาพผมได้รับจากวิกิเมเนียลอนดอนเมื่อ ค.ศ. 2012 ผมเข้าใจว่าเคยประสบความสำเร็จและมีตัวอย่างที่ดี แต่เวลาผ่านไปไม่รู้ว่าเกิดอะไรขึ้น และผมก็หาเอกสารเหล่านี้ไม่พบ น่าจะเริ่มจากการค้นออนไลน์ก่อน และติดตามว่าวิชาที่เคยสอนและใช้เป็นตัวอย่างในต่างประเทศนั้นปัจจุบันเป็นอย่างไรกันแล้ว เราพอจะมีหนทางนำมาประยุกต์ใช้กับบริบทของไทยได้อย่างไร ส่วนที่สำคัญน่าจะเป็นการอบรมผู้สอนเสียก่อนซึ่งโครงการเช่นนี้น่าจะมีอยู่แล้ว เราแค่ดำเนินการแปลก็อาจจะได้ครับ ทำเช่นนี้ไม่ได้หมายความว่าฝรั่งดีไปเสียหมด แต่เราต้องประหยัดทรัพยากรและเวลาที่จะลองผิดลองถูกเอง

ข้อสรุปคือในปี 2012 เหมือนจะออกตัวแรง แต่ว่าเวลาผ่านไปเฉพาะผู้สอนที่เป็นคนเขียนวิกิพีเดียเท่านั้นที่ยังคงอยู่ ถ้าไม่ได้เป็นอาสาสมัครเขียนเองแล้วก็เลิกราไม่ได้ใช้การเขียนวิกิพีเดียในการสอนต่อไป --Taweethaも (talk) 00:52, 23 March 2022 (UTC)Reply

ผมคิดว่าประเด็นที่ทุกท่านในชุมชนเสนอขึ้นมามีความสำคัญมาก อาจไม่เกี่ยวข้องกับการจัดตั้ง chapter หรือจดทะเบียนนิติบุคคลโดยตรง แต่การจดทะเบียนนิติบุคคลขึ้นมาก็เพื่อสนับสนุนกิจกรรมของชุมชนให้มากที่สุดเท่าที่เป็นไปได้ แม้ว่าอาจจะมีบางกิจกรรมที่อยู่นอกขอบข่ายการสนับสนุนได้บ้างก็ตาม ขอบคุณอีกครั้งสำหรับข้อเสนอและความคิดเห็นของทุกท่านนะครับ --Taweethaも (talk) 00:52, 23 March 2022 (UTC)Reply

เรื่องการตั้งมูลนิธิ

edit

ผมขอแยกมาเป็นอีกส่วนหนึ่งนะครับ ผมมีข้อสงสัยและขอให้อธิบายในเรื่องเหล่านี้:

(1) ความคืบหน้าของการจัดตั้งมูลนิธิไปถึงขั้นไหนแล้วครับ (และคาดว่าจะแล้วเสร็จเมื่อไร)
(2) ขณะนี้พบอุปสรรคอะไรบ้าง และมีวิธีการแก้ไขแล้วหรือยัง อย่างไร
(3) เรื่องการกำหนดตัวบุคลากร สถานที่ตั้งกายภาพ มีความพร้อมมากน้อยเพียงใด อย่างไร
(4) มีวิธีคงระดับ activity ของมูลนิธิ, ขยายสมาชิกเพิ่มเติมจากสถาบันเดียวในขณะนี้ อย่างไร (ไม่อยากให้มีช่วงที่หายหน้าหายตาไปนาน ๆ แบบช่วงก่อนครับ)

ประมาณนี้ครับ ถ้าเรื่องใดเป็นเรื่องลับก็ไม่จำเป็นต้องตอบหมดก็ได้ครับ เพียงแต่ขอให้ผมพอเข้าใจสถานการณ์กับแผนโดยรวมหน่อยครับ --Horus (talk) 06:14, 23 March 2022 (UTC)Reply

@Horus, Athikhun.suw, and Karto1: ไม่มีความลับใดๆ ในตอนนี้ และไม่ควรมีเลยครับ แต่อาจจะไม่มีคำตอบในบางคำถาม หรือความคาดหมายไม่ได้ตรงกันเสียทีเดียว นิติบุคคลเป็นแค่ที่ทำกิจกรรมให้เป็นทางการขึ้นในทางการเงิน และอาจทำให้เรามีสถานที่หรือการจ้างงานคนได้ขึ้นมาอีกเพียงแค่คนเดียวครับ

  1. ก่อนหน้านี้ไม่มีเงินพอตั้งมูลนิธิครับ เงินเพิ่งโอนเข้ามา ก็เห็นว่าติดต่อทนายอยู่ครับ ถ้าได้ทนายหรือคนที่เข้าใจทางปฏิบัติมากกว่าทางทฤษฎี เขาน่าจะตอบได้ว่ามีกำหนดเสร็จเมื่อไหร่
  2. bylaws ต้องแก้ไขใหม่ จากสมาคมเป็นมูลนิธิ และควรมีเวลาให้ชุมชนได้เห็นชอบหรือทักท้วงกับเอกสารฉบับใหม่นี้ ทนายน่าจะต้องดูก่อนและหลังที่ชุมชนแก้ไขไปแล้ว ยังไม่มีใครผลักดันไปในทางใดทางหนึ่งว่าจะให้ชุมชนมีเวลาดู 2 สัปดาห์หรือ 1 เดือน หรือนานกว่านั้น
  3. ตามหลักใช้กรรมการสามคน เข้าใจว่ายังอยู่ในขั้นไปทาบทามคุยกัน ผมไม่ได้อยู่ตรงนั้นที่คุยกันและไม่ได้เป็นกรรมการด้วย ผมแค่กระตุ้นให้คนไปคุยกันหรือทาบทามกันครับ และกระตุ้นให้มีความโปร่งใสในทุกขั้นตอน
  4. สถานที่มองไว้ แต่ยังไม่ได้เลือกคือจุฬาฯ / ศิลปากรเพื่อให้กระจายกันออกไปครับ (แต่ก็ยังอยู่ในกรุงเทพ ยังไม่ถึงต่างจังหวัด) กรรมการที่เชิญก็พยายามกระจายไปหลายที่ แต่อาจจะเป็นสมาชิกที่เคย active และเป็นที่ยอมรับนะครับ ผมมีภาพฝันที่ว่าคนที่ active อยู่แล้วก็ทำงานของตัวเองไป คนที่มาเป็นกรรมการตรงนี้แค่สนับสนุนเซ็นต์ผ่านงบไปเฉยๆ เพราะมูลนิธิไม่ได้มีโครงสร้างหรือบทบาทในการเป็นศูนย์กลางเพื่อผลักดันกิจกรรมใดๆ แต่ช่วยสนับสนุนทางการเงิน สถานที่ (หรือแรงงานหากเงื่อนไขให้จ้างลูกจ้างได้) / ที่หายไปนานๆ ช่วงหนึ่งไม่แน่ใจว่าคุณ Horus หมายถึงระดับบุคคลหรือองค์กรอย่างไร หรือในช่วงไหน ในส่วนตัวระดับบุคคล ผมหายไปเป็นพักๆ และจะผันตัวออกไปได้ระยะหนึ่งแล้ว แต่ก็พยายามกลับมาผลักดันอยู่เป็นระยะเท่านั้น / ความเห็นคือทุกคนเป็นอาสาสมัครเหมือนกัน สามารถแทนกันหรือแจ้งกันได้เลยว่าช่วงไหนไม่สะดวกจะฝากฝังกิจกรรมอะไรกันได้ทันที ไม่เกี่ยวกับมูลนิธิ (หรือนิติบุคคลอะไรก็ตามที่จะตั้ง) / นิติบุคคลนี้หากขาดงบประมาณจะต้องปิดทันที ตอนนี้ WMF ใจดีเราก็มีเงิน ตอนที่เขารัดเข็มขัด หากไม่มีเงินเราก็ต้องปิดออฟฟิศและจดทะเบียนเลิกอีกนะครับ แต่ตอนที่มีเงินนี้ก็ทำงานกันไปตามขั้นตอนและอยากให้อาสาสมัครที่สนใจและเปิดเผยตัวตนได้เข้ามาเรียนรู้งานครับ อนาคตไม่แน่นอน เรียนรู้ไว้ก็จะเป็นทรัพยากรบุคคลที่มีค่าในการทำงานต่อไป

ขอบคุณอีกครั้งสำหรับคำถามและความห่วงใยครับ ไม่ได้คุยกันนานเลย ดีใจที่ยังเห็นคุณ Horus เป็นอาสาสมัครอยู่ไม่ห่างหายไปเลย / ถามได้ไม่ต้องเกรงใจเลย กลับดีเสียอีกที่มีคนห่วงใยและใส่ใจกิจกรรมของชุมชนขึ้นมา หลายอย่าง (หรือแทบจะทุกอย่าง) บอกเลยว่าอาจไม่เกี่ยวกับการจดทะเบียน แต่ผมเห็นว่าสำคัญมากที่เราได้หยิบมาคุยกันตรงนี้ และถ้าหาหนทางให้พัฒนาปรับปรุงไปด้วยกันได้ก็จะได้ลงมือเลยในโอกาสนี้ --Taweethaも (talk) 10:12, 23 March 2022 (UTC)Reply


ขอบคุณมาก ๆ นะครับคุณ @Geonuch: สำหรับคอมเมนท์ข้างต้น ผมขออนุญาตให้ความเห็นตามนี้ครับ

  1. ผมเห็นด้วยอย่างยิ่งในเรื่องความเสี่ยงของการถูกคุกคามครับและเห็นด้วยเช่นกันว่าจะส่งผลต่อการหาคนเข้ามาร่วมในนิติบุคลอย่างแน่นอน ในปัจจุบัน WMF มีช่องทางในการรายงานเหตุการณ์ฉุกเฉินซึ่งครอบคลุมไปถึงเรื่องการถูกคุกคามในลักษณนี้ครับ ซึ่งจะมีเจ้าหน้าที่คอยเฝ้าสังเกตและรายงานไปยัง emergency response team ของ WMF ทันที อย่างไรก็ตาม ผมตั้งข้อสังเกตว่าช่องทางการรายงานนี้ยังไม่เป็นที่รู้จักเท่าใดนัก และอาจมีอุปสรรคประการอื่นได้ครับ เช่นอุปสรรคทางภาษาและความแตกต่างของเขตเวลาซึ่งอาจส่งผลให้ไม่ได้รับความช่วยเหลือทันที ในระดับของ Movement Strategy ซึ่งมีการหารือกันระว่าง WMF อาสาสมัครและ affiliates เราเห็นตรงกันครับว่าในอนาคตเราควรมี legal presentation ในระดับ local/regional ครับ ที่จะเข้ามาดูแลหากเกิดเหตุการณ์เร่งด่วน และ มี “fast-track escalation path” เพื่อให้เกิด response อย่างทันท่วงที อย่างไรก็ตามหน้าที่อาจไม่ได้เป็นหน้าที่ของ chapter โดยตรงครับ แต่อาจเป็นหน้าที่ของ regional/thematic hub ที่จะเกิดขึ้นในอนาคต ซึ่งผมเชื่อว่าหากเรามีส่วนงานที่รับผิดชอบในเรื่องนี้โดยตรงน่าจะเป็นตัวสร้างความเชื่อมั่นและคลายความกังวลของอาสาสมัครที่จะเข้าร่วมในอนาคตได้ครับ
  2. หากมีแผนกิจกรรมแล้วจะแจ้งให้ทราบโดยเร็วที่สุดครับ และหากคุณ Geonuch มีความประสงค์เข้ามาร่วมเป็นผู้จัดงานผมมีความยินดีเป็นอย่างยิ่งนะครับ
  3. เห็นด้วยเช่นกันครับหากจะมี Wiki Loves Food และ/หรือ Wiki Loves อื่น ๆ ผมเชื่อว่าหากเรามีกิจกรรมที่หลากหลายมากกว่านี้และไม่จำเจจะทำให้น่าสนใจมากขึ้น และจะดึงคนเข้ามาเป็นอาสาสมัครได้มากขึ้นกว่านี้ครับ

--Athikhun.suw (talk) 23:56, 24 March 2022 (UTC)Reply

@Athikhun.suw: โปรดแจ้งความคืบหน้าและตอบความเห็นของท่านอื่นๆ ต่อไปด้วยครับ --Taweethaも (talk) 08:53, 27 March 2022 (UTC)Reply

@Taweetham: เรื่องภาพลักษณ์ มีหลายกรณีที่พอยกตัวอย่างที่เกิดขึ้นในช่องทางสาธารณะว่าประเด็นที่กล่าวถึงมาน่าจะก่อให้เกิดปัญหาและอาจทำให้ผู้อื่นเข้าใจวิกิพีเดียผิดไปได้ครับ
ผมไม่คัดค้านครับว่าหลายเรื่องไม่ใช่ประเด็นใหญ่สำหรับคนที่เข้าใจวิกิพีเดียและมักมาจากการยึดความเข้าใจของตนเองเป็นหลักและอาจมีนัยสำคัญทางเมืองแฝงอยู่ แต่สำหรับผู้คนทั่วไปที่ไม่ทราบก็จะรับรู้อย่างผิด ๆ ไปจากสื่อหรือความเห็นเหล่านี้ครับ
ส่วนของการคุกคาม มีตั้งแต่กรณีสร้างความรบกวนผ่านช่องทางสนทนาต่าง ๆ การหาข้อมูลส่วนตัวของผู้ใช้ จนถึงการขู่ดำเนินคดี ตัวผมเองก็มีเรื่องร้องเรียนเกี่ยวกับผู้ใช้โดยกล่าวว่าต้องการจะใช้กฎหมายในการจัดการผู้ใช้ในช่องทางส่วนตัวหลายครั้งและเชื่อว่ามีผู้ใช้หลายท่านโดยเฉพาะผู้ดูแลระบบก็น่าจะมีประสบการณ์แบบเดียวกันมาไม่น้อยครับ ส่วนนี้ผมขอไม่เปิดเผยรายละเอียดสำคัญเพราะที่นี้ไม่ใช่พื้นที่เหมาะสมเท่าไรครับ
คู่มือการศึกษาต่าง ๆ น่าสนใจ ลองประยุกต์บางส่วนมาใช้ก่อนหรือนำประเด็นที่เกิดขึ้นในกิจกรรมในอดีตมาปรับปรุงได้ครับ
@Athikhun.suw: ผมเข้าใจว่าหากการขู่ดำเนินคดีนั้นได้รับการพิสูจน์ได้ว่าจะกระทำจริง (เช่น ทนายคู่กรณีติดต่อหรือมีหมายศาลมา) ทางผู้ใช้ในกรณีพิพาทสามารถติดต่อขอความช่วยเหลือจาก WMF ได้และส่วนที่เป็น "เจ้าหน้าที่คอยเฝ้าสังเกต" ไม่แน่ใจว่าอาจเป็นสมาชิก VRT (ซึ่งผมเป็นอยู่ และมีกฏว่ามีเรื่องแบบนี้มาก็ต้องส่งต่อเรื่องไปใช้ legal ของ WMF ด้วย) หรือใคร ๆ ก็สามารถช่วยดำเนินการแทนได้ครับ ทางนั้นไม่เคร่งเรื่องภาษาเพราะเคยแจ้งว่าส่งภาษาอะไรมาก็ได้ก็อาจเป็นเรื่องดีกับผู้ใช้ครับ ในส่วน chapter ผมเข้าใจครับว่าไม่ได้รับผิดชอบในส่วนนี้ แต่คงต้องอธิบายให้กับผู้อื่นชัดเจนว่ามีความแตกต่างและไม่ได้เป็นสำนักงานของวิกิพีเดียภาษาไทย (คงเข้าใจผิดกันเยอะ) นะครับ เรื่องจัดงานผมไม่สะดวกเปิดเผยตัวตนเพราะมีผลกระทบมากในสถานการณ์ปัจจุบัน (ผมเป็น checkuser) คงช่วยได้แค่ทางออนไลน์เท่านั้นครับ
อาจกระทันหันไป แต่ถ้าคืนนี้สะดวกสามารถเข้ามาร่วมคุยกันที่ดิสคอร์ดได้ มีกิจกรรมในคืนนี้และอาจดีถ้าทางผู้จัดงานในครั้งต่อไปมาทดลองใช้งานเพื่อความเคยชินหรือพิจารณาว่าเหมาะสมหรือไม่ครับ --Geonuch (talk) 13:03, 26 March 2022 (UTC)Reply
@Geonuch: ขอบคุณสำหรับข้อมูลครับ ไม่เคยเห็นมาก่อน ตามไปดูแล้วก็เข้าใจเหตุผลได้ว่าทำไมจึงมีเกิดขึ้นอย่างนั้น เห็นแล้วหนักใจแต่ก็ยังมองไม่เห็นทางออกครับ บางเรื่องนั้นก็ยิ่งใหญ่เกินกว่าความสามารถของคนตัวเล็กๆ กลุ่มเล็กๆ จะเข้าไปเปลี่ยนแปลง ให้ข้อมูลเสริมว่า
          1. หลังจากถาม WMF ไปได้รับอีเมลตอบมาถึงช่องทางนะครับ แต่คำถามผมไม่ได้ถามถึงช่องทาง ผมถามว่า WMF มีการเปลี่ยนแปลงเจ้าหน้าที่บ่อยๆ เคยได้ทำสถิติและมีความทรงจำหรือไม่ว่ามีเคสอันใดบ้างเกี่ยวกับการคุกคามอาสาสมัครในประเทศไทย และแจ้งเขาว่าจะตอบหรือไม่ตอบเพื่อรักษาความลับก็ได้ เวลาผ่านไประยะหนึ่งแล้ว ผมขอสรุปว่าเขาเลือกไม่ตอบนะครับ และจะไม่ติดตามขอคำตอบในประเด็นนี้อีก อาสาสมัครต้องดูแลตัวเองก่อนและหากมีปัญหาในปัจจุบันก็แจ้งในปัจจุบัน ปัญหาในอดีตหรือในอนาคต WMF อาจจะไม่อาจจะช่วยได้ ข้อเท็จจริงอันนี้ควรจะให้พึงระลึกกันไว้เสมอครับ และไม่ควรเอาไข่ไว้ในตระกร้า WMF แต่ทางเดียว น่าจะมองหาลู่ทางอื่นที่เหมาะสมแก่ลักษณะปัญหาไว้ด้วย หากมีความคืบหน้าหรือความเข้าใจเพิ่มเติมในช่องทางอื่นแล้วผมค่อยมาแจ้งอีกที (หากแจ้งได้เป็นสาธารณะ) และแน่นอนว่าไม่ว่าช่องทางไหนก็ไม่เกี่ยวกับกับการจดนิติบุคคล "วิกิมีเดียประเทศไทย"
          2. ถ้าวิกิมีเดียประเทศไทยสามารถจ้างลูกจ้างหรือมีนักศึกษาฝึกงานได้ (ไม่จำกัดสาขาวิชาเรียน) อาจสามารถทำ campaign เพื่อตอบคำถามของคนที่ไม่เข้าใจระบบการทำงานของวิกิพีเดีย และยื่นมือเข้าไปเชิญชวนคนเหล่านั้นมาลองแก้ไขได้ รวมถึงสร้างความเข้าใจที่ถูกต้อง ฯลฯ ผมเชื่อในนักศึกษาฝึกงานหรือทำโปรเจคจบ (หรือจะมาทำวิจัยบัณฑิตศึกษาก็ตามที แต่เราจะต้องมีมาตรการและข้อตกลงที่เหมาะสมก่อนเริ่มงาน) นักศึกษาเหล่านี้สามารถทำวิดีโอหรือสื่อต่างๆ ได้ดีพอสมควรทีเดียว หรือจะทำเป็นการประกวดคล้ายกับ WLX โดยให้วิดีโอที่มีเนื้อหาแก้ไขความเข้าใจผิดหรือแนะนำการใช้งาน ฯลฯ เงื่อนไขการจ้างพนักงานคือทำงานในสิ่งที่ไม่ซ้ำซ้อนกับอาสาสมัคร เรื่องที่ต้องไป engage กับผู้เห็นต่างเป็นเรื่องที่ยาก คงไม่ค่อยมีอาสาสมัครอยากทำ อาจเป็นสิ่งที่เข้าเงื่อนไขก็ได้ (แต่ต้องไม่เสี่ยงชีวิต เราคงไม่มีนโยบายทำประกันชีวิตให้ลูกจ้างเพื่อการนี้)
            1. en:WP:BLP น่าจะเป็นกลุ่มใหญ่ของเรื่องเลย
            2. การเมืองไทยไม่น่าจะมีนโยบายฝรั่งที่เขียนเอาไว้ อันนี้เป็นอีกกลุ่มหนึ่งที่ไม่มีทางออกง่ายๆ ผมลองดูไปเรื่อยๆ ก็ได้ตามนี้ en:WP:LETGO en:WP:WORLDSEND en:WP:COOL en:WP:Truce
          3. Athikhun.suw กำลังดำเนินการเรื่องรายชื่อกรรมการอยู่ โดยเรา approach จากอายุ account 10+ ปี ขึ้นไปก่อน น่าจะมีความคืบหน้าเร็วๆ นี้ครับ ผมเลือกที่จะไม่อยู่ในกรรมการนี้นะครับ เพราะตั้งแต่ต้นผมอาจจะไม่ได้เห็นด้วยในแนวทางที่จะจดนิติบุคคลตั้งแต่แรก แต่ก็เคารพคนที่ตัดสินใจจะเสียสละมาทำงานตรงนี้ด้วยวิธีการนี้ และจะช่วยประคับประคองทุกคนไปเท่าที่ทำได้
ผมก็ว่าข้อดีข้อเสียต่างกันนะครับ ถ้าจดทะเบียน ก็จะมีประโยชน์ในเรื่องความน่าเชื่อถือในหมู่สาธารณชน แต่ข้อเสียก็อาจจะกลายเป็นว่ามูลนิธิจะต้องอยู่ภายใต้กฎหมายไทย (ยิ่งสมัยนี้จะคุมเข้ม NGO ที่รับเงินต่างประเทศด้วย) และจริง ๆ ผมก็ไม่ชัวร์ว่าต่างประเทศเขาต้องจดทะเบียนตามกฎหมายประเทศนั้น ๆ ด้วยหรือเปล่า เพราะเท่าที่เห็นทุกวันนี้ก็ยังประสานงานกับมูลนิธิวิกิมีเดียได้โดยไม่ต้องจดทะเบียนตามกฎหมายไทยครับ --Horus (talk) 12:31, 1 April 2022 (UTC)Reply

การดำเนินการ

edit

@Horus, Geonuch, and B20180: ประเด็นดังต่อไปนี้ต้องดำเนินการไปคู่ขนานกัน (เราคงไม่ตอบว่าไก่กับไข่อะไรเกิดก่อนกัน แต่เราต้องการทั้งสองอย่างในภาพสุดท้าย) และต้องทำใจไว้ก่อนว่าสิ่งหนึ่งเกิดขึ้นแล้วจะส่งผลกระทบอีกปัจจัยหนึ่งได้ แต่ก็จงใช้ WP:AGF ผลักดันกันต่อไปนะครับ --Taweethaも (talk) 02:47, 23 April 2022 (UTC)Reply

ยังเป็นประเด็นที่ติดตามอยู่ในการประชุมทุกเดือน เช่น Meetup/Mahidol University/14 และ Meetup/Mahidol University/15 นะครับ --Taweethaも (talk) 05:27, 7 May 2022 (UTC)Reply

กรรมการ

edit

จากการสำรวจสอบถามไปสรุปได้ดังนี้ครับ @Pongsak ksm, Mda, Athikhun.suw, and 2ndoct: ผู้ประสานงานในการสำรวจรายชื่อคือ @Karto1: ปัจจุบันมีรายชื่อเพียงพอแล้วน่าจะรอยืนย้นว่าพ้นกำหนดเวลาที่ตอบรับแล้วก็ถือว่าปิดรายชื่อรอบนี้ไปได้ --Taweethaも (talk) 02:47, 23 April 2022 (UTC)Reply

ตอนนี้ผมได้ทาบทามผู้ใช้เพิ่มอีก 2 ท่านครับ รอยืนยันพ้นกำหนดเวลาตอบกลับวันศุกร์ที่ 29 เมษายน ครับ --Karto1 (talk) 12:28, 23 April 2022 (UTC)Reply
พ้นวันศุกร์ที่ 29 เมษายน แล้ว สรุปว่าไม่สะดวกหนึ่งท่านและไม่ได้ตอบกลับมาหนี่งท่าน รายชื่อจึงยังคงเดิมครับ --Karto1 (talk) 05:48, 30 April 2022 (UTC)Reply

สถานที่

edit

@Tanapatjms: ได้สำรวจ SIAMSCAPE ไปแล้วเกินกว่างบประมาณพึงมีพึงจ่าย @Athikhun.suw: กำลังพยายามติดต่อศูนย์มนุษยวิทยาสิรินธรต่อไป --Taweethaも (talk) 02:47, 23 April 2022 (UTC)Reply

ทนาย/นักบัญชี

edit

ได้ติดต่อไปหลายที่แล้ว สำหรับที่เป็นนานาชาติตอบกลับมาเร็วแต่ราคาสูง (หนึ่งถึงสองแสนบาท) ส่วนของแบบไทยๆ ยังตอบช้าหรือตอบว่าไม่รับทำ กำลังลองใช้บริการจากสำนักงานบัญชีรวมถึง สมาคมสันนิบาตมูลนิธิแห่งประเทศไทยในพระบรมราชูปถัมภ์ @Athikhun.suw: เป็นผู้ประสานงาน --Taweethaも (talk) 02:47, 23 April 2022 (UTC)Reply

@Athikhun.suw: ติดต่อได้แล้วในราคาไม่เกินห้าหมื่นบาท Taweethaも (talk) 17:05, 29 April 2022 (UTC)Reply

ข้อบังคับมูลนิธิ

edit

อยู่ในหน้า Wikimedia Thailand/bylaws ต้องปรับปรุงร่างกันไปในสภาพที่ชุมชนยอมรับ ทนายยอมรับ และที่สำคัญที่สุดคือกระทรวงมหาดไทยอนุมัติให้ประกาศในราชกิจจานุเบกษาต่อไป รายชื่อหน่วยงานทางการกุศลที่จะรับเงินต่อไปหากมูลนิธิยุบเลิกได้สอบถามผ่าน @JChen (WMF): ไปแล้ว --Taweethaも (talk) 02:47, 23 April 2022 (UTC)Reply

Return to "Wikimedia Thailand/Registration" page.